เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
14. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
15. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
16. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
17. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
18. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ1
ภิกษุเหล่านั้นย่อมแยกพวกออกมา ประกาศตัวด้วยเหตุ 18 อย่างนี้ แยก
กันทำอุโบสถ แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม
อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่านี้แล

สังฆสามัคคี
[353] พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สังฆสามัคคี
สังฆสามัคคี’ สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
1. แสดงอธรรมว่า เป็นอธรรม
2. แสดงธรรมว่า เป็นธรรม
3. แสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่า มิใช่วินัย
4. แสดงวินัยว่า เป็นวินัย
5. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้กล่าวไว้
6. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้
7. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
8. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ตถาคตได้ประพฤติมา
9. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
10. แสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้

เชิงอรรถ :
1 อาบัติชั่วหยาบ คืออาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :215 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
11. แสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
12. แสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
13. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
14. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
15. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
16. แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
17. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
18. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่แยกพวกออกมาประกาศตัวด้วยเหตุ 18 อย่างนี้ ไม่
แยกกัน ทำอุโบสถ ไม่แยกกันทำปวารณา ไม่แยกกันทำสังฆกรรม
อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่านี้แล”
[354] 1พระอุบาลีกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียงกัน จะประสบผลอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้น ย่อม
ประสบผลชั่วร้าย ชั่วกัป ถูกไฟไหม้ในนรกตลอดกัป”

นิคมคาถา
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีการแตกกัน
ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป
พลาดจากนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ เสวยผลกรรม
อยู่ในนรกตลอดกัป เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน
พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทำสงฆ์ที่แตกกันให้พร้อมเพรียงกัน
จะประสบผลอย่างไร”

เชิงอรรถ :
1 องฺ.ทสก. (แปล) 24/39/90, อภิ.ก. 37/657/395-396,862/492

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :216 }